เวิลด์ไวด์เว็บ
เป็น บริการข้อมูลข่าวสารแบบสื่อผสม ที่ประกอบไปด้วย ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ เสียง ในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นที่ดึงดูดให้ผู้คนส่วนใหญ่ เข้ามา ใช้บริการกันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ เวิลด์ไวด์เว็บยัง เป็นเครื่องมือช่วยให้เรา สามารถ ค้นหารายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบเกือบทุกเรื่อง สามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด ใช้งานง่าย สะดวกและรวดเร็ว ทำให้ประหยัดเวลา รวมทั้งเรายังสามารถ เผยแพร่เอกสารที่เราจัดทำ ไปให้ผู้คนทั่วโลกโดยผ่านทาง เวิลด์ไวด์เว็บ ได้เช่นกัน โดยเสียค่าใช้จ่าย ถูกกว่า การตีพิมพ์บนกระดาษ หรือบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เวิลด์ไวด์เว็บ จึงเป็นต้นเหตุสำคัญ ทำให้ สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้คนทั่วโลก เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรวดเร็ว ![]()
ภาพตัวอย่าง : www.hotmail.com
![]()
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW หรือ W3 หรือ Web) คือ บริการค้น หรือเรียกดู ข้อมูลแบบหนึ่ง ในอินเทอร์เน็ต ข้อมูลในเวิลด์ไวด์เว็บ จะอยู่ในแบบสื่อผสม หรือมัลติมีเดีย (multimedia) ที่มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง
ภาพเคลื่อนไหวแบบวิดีโอ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ แต่ละหน้าสามารถ เชื่อมโยงถึงกันได้เป็นแบบเครือข่ายคล้ายใยแมงมุม จากแหล่งต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วโลก
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)
เวิลด์ไวด์เว็บ นิยมเรียกสั้นๆ ว่าเว็บ หรือ WWW ถือเป็นส่วนที่น่าสนใจที่สุดบนอินเทอร์เน็ตเพราะ
สามารถแสดงสารสนเทศต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ข้อมูลด้านดนตรี กีฬา การศึกษา ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง รวมถึงภาพเคลื่อนไหว เช่นแฟ้มภาพวีดิทัศน์หรือตัวอย่าง ภาพยนตร์ และการสืบค้นสารสนเทศในเวิลด์ไวด์เว็บนั้นจำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมค้นดูเว็บ (web browser) ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล โดยที่เว็บกับโปรแกรมค้นผ่านจะทำหน้าที่รวบรวมและกระจายเอกสารที่เครือข่าย ที่ทำไว้
เกตส์ (Gates, 1995) ได้กล่าวถึงเว็บไว้ว่า นอกเหนือจากการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการแลก
เปลี่ยนเอกสารกันแล้ว อินเทอร์เน็ตยังสนับสนุนสืบค้นข้อมูล อันเป็นโปรแกรมการใช้งานที่ได้รับความนิยม มากที่สุดแบบหนึ่งนั่นคือเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งหมายถึงเครื่องบริการเว็บที่ต่อเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ตโดยมี ข่าวสารเป็นภาพกราฟิก เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องบริการเว็บประเภทนั้น จอภาพจะปรากฏข่าวสารพร้อมด้วย การเชื่อมโยง เมื่อเลื่อนเมาส์ไปคลิกที่จุดเชื่อมโยงใดๆ ก็จะเป็นการเปิดไปสู่อีกหน้าหนึ่งที่มีข่าวสารเพิ่มเติม พร้อมทั้งการเชื่อมโยงจุดใหม่อื่นๆ ซึ่งข่าวสารหน้าใหม่นี้อาจจะอยู่ในเครื่องบริการเว็บเดียวกันหรืออาจเป็น เครื่องบริการเว็บอื่นๆ ในอินเทอร์เน็ต
กิดานันท์ มลิทอง (2540) ได้กล่าวถึงเวิลด์ไวด์เว็บว่า เป็นบริการสืบค้นสารสนเทศที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต
ในระบบข้อความหลายมิติ (hypertext) โดยคลิกที่จุดเชื่อมโยง เพื่อเสนอหน้าเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สารสนเทศที่นำเสนอจะมีรูปแบบทั้งในลักษณะของตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง การเข้าสู่ระบบ เว็บจะต้องใช้โปรแกรมทำงานซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่ เน็ตสเคป นาวิเกเตอร์ (Netscape Navigator), อินเทอร์เน็ต เอ็กซพลอเรอร์ (Internet Explorer) มอเซอิก (Mosaic) โปรแกรมเหล่านี้ช่วย ให้การใช้เว็บในอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น
ความเป็นมาของเวิลด์ไวด์เว็บ
ปี พ.ศ.2533 นักวิทยาศาสตร์จากห้องทดลองของสถาบันเซิร์น (CERN) ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการฟิสิกส์
แห่งยุโรป ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คือ ทิม เบิร์นเนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) ได้สร้างระบบ การสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่าไฮเพอร์เท็กซ์ (hypertext) ซึ่งผลที่ได้ ทำให้มีการสร้างโพรโทคอลแบบ HTTP (Hypertext Transport Protocol) ขึ้น เพื่อใช้ในการส่งสาร สนเทศต่างๆ โดยจะถูกจัดอยู่ในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า HTML (HyperText Markp Language) ซึ่งการ สื่อสารและการสืบค้นสารสนเทศในรูปแบบใหม่นี้ทำให้มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วใน ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ และเสียง (จิตเกษม พัฒนาศิริ, 2540)
จากการวิจัยดังกล่าว ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นและสร้างสรรค์รูปแบบเพื่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นตัวเชื่อมโยง ทำให้เวิลด์ไวด์เว็บกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้การติดต่อสื่อสาร และการนำเสนอผ่านเครือข่ายทิ่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกไปแล้วในขณะนี้ ![]() ![]() ![]() เอกสารข้อมูลเวิลด์ไวด์เว็บ เรื่องหนึ่ง ๆ ใน เว็บไซต์ จะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ คล้ายหนังสือ เล่มหนึ่ง แต่ละหน้า เรียกว่า เว็บเพจ (web page) ข้อมูลในเวบเพจเป็นเอกสารแบบ ไฮเปอร์เท็กซ์ เขียนขึ้นด้วยภาษา HTML แบ่งเป็นสองส่วน คือส่วนที่เป็นตัวข้อมูล และส่วนที่เป็น ตัวเชื่อม (link) ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงไปยังข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง (เมื่อนำเมาส์ไปชี้บางครั้งจะปรากฏเห็นเป็นรูปมือ) เราเรียกข้อมูลที่มีตัวเชื่อมนี้ว่าเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) เว็บเพจหน้าแรกของเอกสารบนเวิลด์ไวด์เว็บ เรียกว่า โฮมเพจ (home page)ซึ่งเปรียบ เสมือนหน้าแรก หรือหน้าปกของหนังสือ เป็น ส่วนที่ใช้บอกชื่อเรื่องของเอกสารข้อมูล ส่วนสำคัญ ในหน้าที่เป็นโฮมเพจ คือหัวข้อเรื่องของเอกสารข้อมูล หรือสารบัญ ที่มีลักษณะเป็นแบบ ไฮเปอร์เท็กซ์ที่จะเชื่อมโยงไปยัง รายละเอียดที่อยู่ในหน้าอื่น ๆ ต่อไป นอกจากนี้ ก็จะมี ชื่อเจ้าของโฮมเพจ พร้อมทั้งที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ และอาจจะมีคำชี้แจงเบื้องต้นด้วย ![]()
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งอาจจะใช้ระบบปฏิบัติการ Unix หรือ Windows NT ก็ได้ และมีโปรแกรมประเภท HTTPD ทำหน้าที่คอยบริการจัดส่งเอกสารข้อมูล ให้กับผู้ที่ติดต่อขอผ่านมาทางเว็บบราวเซอร์
![]()
เว็บไซต์ (web site) หมายถึงตำแหน่งที่เก็บข้อมูลที่เป็น เว็บเพจ ต่าง ๆที่เจ้าของระบบ ได้จัดเตรียมไว้บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ แต่ละเว็บไซต์บนเว็บเซิร์ฟเวอร์มีวิธีการระบุที่อยู่ (address) ของตัวเองไม่ให้ซ้ำกับผู้อื่น วิธีการระบุที่อยู่ของเว็บไซต์นี้เรียกว่า รหัสสืบค้น (Uniform Resource Locator หรือ URL) ส่วนแรกของ URLเป็นโปรโตคอล http ที่จะบอกลักษณะ ของข้อมูล ว่าเป็นแบบเวิลด์ไวด์เว็บคั่นด้วยเครื่องหมาย :// และส่วนที่สอง ใช้บอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลนั้น ๆ เช่น
![]()
ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) คือ คำหรือวลีเรืองแสงหรือมีสีแตกต่างจากข้อความธรรมดา หรือ มีการขีดเส้นใต้ในเอกสารเว็บ เมื่อเรียกดูผ่านทางเว็บบราวเซอร์ ถ้าใช้เมาส์ชี้ที่ ไฮเปอร์เท็กซ์จะเห็นเป็นรูปมือ และเมื่อคลิกเมาส์ที่ไฮเปอร์เท็กซ์ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ จะเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่นซึ่งอาจจะเป็นจุดอื่นในไฟล์เดียวกัน หรืออาจจะเชื่อมโยงไปยัง ไฟล์เอกสารอื่น หรือเว็บไซต์อื่น การเชื่อมโยงดังกล่าว เรียกว่า
ไฮเปอร์ลิงก์ (hyperlink) ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของเอกสารเว็บ เมื่อเรียกดูผ่านทางเว็บบราวเซอร์ ไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) หมายถึง ส่วนที่เพิ่มเติมจากไฮเปอร์เท็กซ์ นั่นคือนอกเหนือ จากการเชื่อมโยงข้อมูลในแบบตัวอักษรแล้ว เรายังสามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ภาพถ่าย วิดีโอ เสียง ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหว ได้ด้วย ![]()
เว็บบราวเซอร์ (web browser) คือโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ที่ทำหน้าที่ติดต่อกับ เว็บเซอร์เวอร์ เพื่อขอดูเอกสารข้อมูลเวิลด์ไวด์เว็บ เมื่อได้รับแฟ้มเอกสารที่ขอไป ก็นำมาแสดงบนจอภาพ เราเรียกรายละเอียดของเอกสารข้อมูล
ที่เว็บบราวเซอร์นำมาแสดงบนจอว่า เอกสารเว็บ (web document) ในปัจจุบัน มีบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ต่าง ๆ หลายราย ได้พัฒนาโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ออกมาให้ใช้งานกันมากมาย และเพิ่มขึ้นทุกขณะ เช่น NCSA Mosaic, Cello, NetscapeNavigator, Internet Explorer, HotJava, และ Win Web เป็นต้น ![]() ![]()
หัวข้อ Security จะเป็นการกำหนดระดับของการรักษาความปลอดภัย ในการใช้งาน Internet ซึ่งควรปรับไว้ที่ Default Level สำหรับงานทั่วไป
หัวข้อ Content ส่วนที่ควรตั้งค่าไว้คือ ช่อง AutoComplete ใช้สำหรับการลบตัวอักษรที่จะจำอยู่ในแบบฟอร์ม เช่นอีเมล์ หรือรหัสผ่านต่าง ๆ ที่เคยเก็บไว้ โดยส่วนอื่น ๆ นอก AutoComplete แล้วนั้น มีการใช้งานน้อยมาก
หัวข้อ Connections หัวข้อ Connection จะเป็นรายละเอียดต่าง ๆ ของการเชื่อมต่อเครือข่าย ซึ่งผู้ใช้สามารถทำการปรับแต่งค่าต่าง ๆ เช่นการตั้ง username และ password การเลือก Default Connection การลบ หรือเพิ่ม Connection ในนี้ได้ และเมื่อต้องการเชื่อมต่อเข้ากับวง LAN และปรังตั้งค่าต่าง ๆ ให้เลือกที่ LAN Setting ด้านล่างด้วย
![]()
หัวข้อ Advanced จะเป็นการตั้งค่าอื่น ๆ ต่าง ๆ ซึ่งโดยทั่วไปก็คงจะไม่จำเป็นต้องตั้งค่าในส่วนนี้
![]() |
อ้างอิง
น.ส.ฐิตาพร บุญโย รหัสนักศึกษา 550842005
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต สาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่1 |
วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ประวัติของบริการเวิลด์ไวด์เว็บ(World Wide Web)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น